รับซื้อกล้อง

รับซื้อกล้องมือสอง

เราคือทีมที่รับซื้อกล้อง ทุกรุ่น ทุกยี่ห้อทุกรูปแบบ ไม่ว่ากล้องรุ่นเก่ามาก รุ่นใหม่ หรือของใหม่ เราก็รับซื้อ รวมไปถึงอุปกรณ์กล้องทั้งหมดเราก็รับซื้อ โดยมีทีมรับซื้อทุกจังหวัด บริการเป็นกันเอง

ไม่ว่าคุณจะมีตัวเดียว ใช้ส่วนตัว ซื้อมาและไม่ชอบ ไม่ถนัด ต้องการเปลี่ยนรุ่น เรามีทีมไปรับถึงหน้าบ้าน ไม่จำเป็นต้องส่งมาก่อน คุณจะได้รับเงินทันที

…หรือคุณจะเป็นในรูปแบบบริษัท :

มีกล้องมือสอง จำนวนมาก ๆ เราก็สามารถทำเสนอราคาให้คุณได้ สามารถหาคู่เทียบให้คุณได้ ออกใบเสนอราคาได้ทันที ไม่ต้องรอนาน

ง่าย ๆ เพียงแอดไลน์หาเรา @buyit ส่งรูปและรายละเอียดมาให้เรา

    การถ่ายภาพได้รับความนิยมเป็นอันมาก ภาพหนึ่งภาพสามารถสื่อความหมายแทนคำพูดได้เป็นพันคำ และยังช่วยบันทึกเรื่องราวต่าง ๆ ไว้เป็นหลักฐานให้คนรุ่นหลังใช้ศึกษาหาความรู้ได้เป็นอย่างดี ใครๆ ก็สามารถถ่ายภาพได้ ด้วยสายตาที่เพ่งพินิจ ด้วยจินตนาการบางอย่างในหัวใจ ด้วยมืออันเขม็งแน่ว รวมทั้งมีความรู้ด้านเทคนิคบ้างเล็กน้อย การถ่ายภาพมีวิวัฒนาการรวดเร็วยิ่ง กระแสความนิยมกล้องดิจิทัล (Digital Camera) ได้เพิ่มมากขึ้นในปัจจุบัน ด้วยคุณสมบัติที่น่าสนใจหลาย ๆ ประการดังจะได้แนะนำให้รู้จักกล้องดิจิทัลเป็นลำดับขั้นไป

ความหมายของกล้องดิจิทัล

    กล้องดิจิทัล คือกล้องถ่ายภาพที่ไม่ต้องใช้ฟิล์ม แต่ใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่เรียกว่าเซ็นเซอร์ เป็นตัวรับแสงผ่านการประมวลผลได้ภาพดิจิทัล บันทึกไว้ในรูปของไฟล์ในสื่อบันทึกภาพภายในกล้องซึ่งสามารถส่งต่อไปยังคอมพิวเตอร์ เพื่อตกแต่งภาพด้วยโปรแกรมต่าง ๆ แล้วพิมพ์ออกมาเป็นภาพหรือส่งผ่านอินเทอร์เน็ต และใช้งานในลักษณะอื่น ๆ ได้อย่างหลากหลาย บนพื้นผิวของเซ็นเซอร์รับภาพจะแบ่งออกเป็นส่วนเล็ก ๆ ที่เรียกกันว่า พิกเซล (Pixel) ซึ่งแต่ละพิกเซลจะบันทึกข้อมูล 1 จุดภาพ เมื่อรวมกันหลาย ๆ จุดอัดกันแน่นจะกลายเป็นภาพที่สามารถมองเห็นได้ว่าเป็นภาพอะไร

วิเคราะห์จุดเด่นของกล้องดิจิทัลกับกล้องที่ใช้ฟิล์ม

ระบบถ่ายภาพของกล้องดิจิทัลและกล้องที่ใช้ฟิล์มจะคล้ายคลึงกัน แต่สิ่งที่แตกต่างกันอย่าง เห็นได้ชัดคือระบบบันทึกภาพ ที่กล้องดิจิทัลใช้ตัวเซ็นเซอร์เป็นตัวรับภาพแทนฟิล์มแล้วแปลงเป็น สัญญาณดิจิทัลบันทึกลงอุปกรณ์เก็บข้อมูล บางคนอาจเลือกใช้กล้องดิจิทัล แต่บางคนอาจยังชอบใช้ กล้องชนิดใช้ฟิล์ม เพราะกล้องทั้งสองแบบมีจุดเด่นที่แตกต่างกันไป พอสรุปได้ดังนี้

จุดเด่นของกล้องดิจิทัล

1. ไม่ต้องใช้ฟิล์ม ใช้ตัวเซ็นเซอร์เป็นตัวรับภาพแล้วเแปลงเป็นสัญาณดิจิทัลบันทึกลงอุปกรณ์ เก็บข้อมูลเป็นไฟล์ภาพ สามารถถ่ายภาพได้มากโดยไม่ต้องเสียค่าฟิล์มให้เปลืองเงิน

2. ดูภาพได้ทันที รวดเร็ว ไม่ต้องรอลุ้นเหมือนกล้องใช้ฟิล์มว่าถ่ายไปแล้วภาพจะออกมาดี หรือไม่ เพราะต้องนำฟิล์มไปผ่านกระบวนการล้างแล้วอัดออกมาเป็นภาพ บางครั้งถ่ายเสีย ไปแล้วก็ไม่สามารถกลับไปถ่ายใหม่ได้อีก แต่ถ้าใช้กล้องดิจิทัลเมื่อถ่ายเสร็จปุ๊บก็สามารถ เปิดดูภาพได้ทันทีที่จอภาพของกล้อง ถ้าภาพออกมาไม่ดีหรือไม่ถูกใจก็ลบทิ้งแล้วถ่ายใหม่ เดี๋ยวนั้นได้เลย

3. สามารถปรับเปลี่ยนค่าความไวแสงได้ตลอดเวลาที่ถ่ายภาพ แต่ถ้าเป็นกล้องใช้ฟิล์มเมื่อ กล้องตัวนั้นใส่ฟิล์มที่มีค่าความไวแสงเท่าใด ก็ต้องถ่ายภาพด้วยค่าความไวแสงเท่านั้นไป จนกว่าฟิล์มจะหมดม้วน เช่น ใส่ฟิล์มที่มีค่าความไวแสง 100 ก็ต้องถ่ายภาพด้วยค่า ความไวแสง 100 ไปจนกว่าฟิล์มจะหมดม้วน ถ้าจำเป็นต้องไปถ่ายภาพในที่มืดมาก ๆ ก็จะ เปลี่ยนค่าความไวแสงให้มากขึ้นไม่ได้ ซึ่งกล้องดิจิทัลสามารถเปลี่ยนค่าความไวแสงได้ ทันที ทำให้สามารถถ่ายภาพได้แทบทุกสภาพแสง

4. สามารถปรับปรุงแก้ไขภาพเบื้องต้นได้ภายในกล้อง ด้วยโปรแกรมที่ให้มากับตัวกล้อง เช่น การตัดบางส่วนของภาพที่ไม่ต้องการออกไป การแก้ไขภาพที่มืดไปให้สว่างขึ้น ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งกล้องถ่ายภาพที่ใช้ฟิล์มทำไม่ได้ภายในตัวกล้อง

5. ใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้ง่าย สามารถต่อกล้องดิจิทัลเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้โดยตรง แล้วโหลดภาพจากกล้องดิจิทัลมาเก็บไว้ในคอมพิวเตอร์ นอกจากนี้ยังสามารถตกแต่งภาพ ที่ถ่ายมาได้ตามใจที่เราต้องการ โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปช่วยในการตกแต่งภาพซึ่งมีอยู่ มากมายหลายโปรแกรม แต่ถ้าเป็นกล้องที่ใช้ฟิล์มกว่าจะใช้งานร่วมกับคอมพิวเตอร์ได้ ต้องนำภาพหรือฟิล์มไปผ่านเครื่องสแกนภาพ เพื่อแปลงให้เป็นไฟล์ดิจิทัลก่อนจึงจะนำเข้า คอมพิวเตอร์ได้ 3

6. ไฟล์ภาพดิจิทัลที่สำเนาเก็บไว้ในสื่อบันทึกข้อมูลแบบต่าง ๆ สามารถเก็บไว้ได้นานโดยที่ คุณภาพไม่ผิดเพื้ยนเลย แต่สำหรับกล้องที่ใช้ฟิล์มถึงแม้ว่าฟิล์มจะมีอายุการใช้งานที่ ยาวนาน แต่ถ้าไม่ได้รับการเก็บรักษาดูแลเป็นอย่างดี ก็จะทำให้ฟิล์มเสื่อมคุณภาพได้อย่าง รวดเร็วและภาพถ่ายดี ๆ ที่เราสะสมไว้ก็จะมีสีสันผิดเพี้ยนไป แล้วภาพเหล่านั้นก็จะจาก เราไปแบบไม่มีวันกลับคืนมา

7. ผู้ใช้กล้องดิจิทัลสามารถพิมพ์ภาพที่ถ่ายได้ด้วยตนเอง โดยต่อเชื่อมกล้องดิจิทัลเข้ากับ เครื่องพิมพ์ภาพ ซึ่งสามารถซื้อหามาใช้ได้ง่ายหรือจะส่งไปพิมพ์ภาพ (อัดภาพ) ตามร้าน ถ่ายภาพทั่วไป โดยสามารถเลือกภาพที่ต้องการอัดได้ไม่จำเป็นต้องอัดทุกภาพ ทำให้ ประหยัดค่าใช้จ่ายมากกว่ากล้องที่ใช้ฟิล์มที่ต้องเสียทั้งค่าล้างฟิล์มและค่าอัดภาพ และต้อง อัดทุกภาพทั้งม้วนทำให้เสียค่าใช้จ่ายสูง

8. กล้องดิจิทัลหลายรุ่นสามารถบันทึกภาพเคลื่อนไหวได้ ซึ่งกล้องที่ใช้ฟิล์มทำไม่ได้

จุดเด่นของกล้องที่ใช้ฟิล์ม

1. ความละเอียดของภาพที่ได้จากกล้องที่ใช้ฟิล์มนั้น จะมีความละเอียดมากกว่ากล้องดิจิทัล โดยเฉพาะอย่างยิ่งฟิล์มที่มีความไวแสงต่ำ ๆ ยิ่งมีความละเอียดมาก ถึงแม้ว่าในปัจจุบัน กล้องดิจิทัลจะพัฒนาตัวเซ็นเซอร์รับภาพที่มีความละเอียดสูงสิบกว่าล้านพิกเซลขึ้นไป แต่ ผู้เชี่ยวชาญทางด้านถ่ายภาพส่วนใหญ่ ยังคงแสดงความเห็นว่าความละเอียดของภาพที่ได้ จากฟิล์มนั้นสูงกว่าภาพที่ได้จากกล้องดิจิทัล ยิ่งเป็นภาพที่ขยายใหญ่ ๆ ด้วยแล้ว กล้องที่ใช้ ฟิล์มจะขยายภาพที่ให้ความละเอียดดีกว่า

2. สีของภาพที่ได้จากกล้องที่ใช้ฟิล์ม สามารถไล่น้ำหนักสีได้ดีกว่ากล้องดิจิทัล ทำให้ภาพที่ ออกมาดูสมจริง มีมิติ มากกว่ากล้องดิจิทัล

3. กล้องที่ใช้ฟิล์ม จะใช้พลังงานจากแบตเตอรี่น้อย ยิ่งเป็นกล้องที่ใช้ฟิล์มที่ควบคุมระบบ ต่าง ๆ เองไม่ใช่ระบบอัตโนมัติด้วยแล้วจะใช้พลังงานน้อยมาก แต่สำหรับกล้องดิจิทัล การควบคุมระบบการทำงานต่าง ๆ ในตัวกล้องต้องใช้พลังงานทั้งสิ้น กล้องตัวใดมีจอ แสดงภาพที่ใหญ่ก็ต้องใช้พลังงานมากยิ่งขึ้น

จากที่กล่าวมา จะพบว่ากล้องดิจิทัลมีจุดเด่นหลายประการที่ดีกว่ากล้องที่ใช้ฟิล์ม ด้วยเหตุผล ดังกล่าวทำให้ปัจจุบันมีผู้นิยมใช้กล้องดิจิทัลกันอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ผู้ผลิตกล้องหลายบริษัทได้ พยายามแก้ไขข้อบกพร่องของกล้องดิจิทัลในด้าน ความละเอียด สีสัน และความมีมิติของภาพให้ ใกล้เคียงกับกล้องที่ใช้ฟิล์มแล้ว

ประเภทของกล้องดิจิทัล

กล้องดิจิทัลแบ่งออกเป็น 2 ประเภทตามหลักสากล โดยอาศัยการใช้งานและคุณสมบัติ ของกล้อง ดังนี้ (อรวินท์ เมฆพิรุณ, 2551 : 21)

1. กล้องคอมแพ็ค (Compact Digital Camera)

2. กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว หรือ D-SLR (Digital Single Lens Reflex Camera)

กล้องคอมแพ็ค

เป็นกล้องที่ได้รับความนิยมอย่างสูง มีเลนส์ติดมากับตัวกล้องแบบถาวรไม่สามารถถอดเปลี่ยน เลนส์ได้ รูปทรงของกล้องประเภทนี้มีความหลากหลาย มีทั้งขนาดเล็กกระทัดรัด แบนและบาง ใส่กระเป๋าเสื้อได้ และที่เหมือนกับกล้องถ่ายรูปแบบคอมแพ็คที่ใช้ฟิล์มก็คือ น้ำหนักของกล้องจะเบา เหมาะแก่การพกพา กล้องถูกออกแบบมาให้เหมาะกับผู้ใช้งานทั่วไป ทำให้กล้องประเภทนี้ใช้งาน ได้ง่าย สามารถเลือกรูปแบบการถ่ายภาพแบบอัติโนมัติได้หลากหลายรูปแบบ เช่น คำสั่งถ่ายภาพบุคคล ภาพทิวทัศน์ ภาพระยะใกล้ ภาพกีฬา ฯลฯ เป็นต้น ซึ่งคำสั่งเหล่านี้จะช่วยให้ถ่ายภาพได้ดีขึ้นโดยไม่ต้อง มีความรู้เรื่องการถ่ายภาพมากนัก

กล้องสะท้อนภาพเลนส์เดี่ยว (D-SLR)

กล้องดิจิทัลประเภทนี้เหมาะสำหรับ มือสมัครเล่นที่จริงจัง หรือกึ่งมืออาชีพจนถึงระดับมืออาชีพ จุดสำคัญของกล้องประเภทนี้คือสามารถถอดเปลี่ยนเลนส์ได้ กล้อง D-SLR มักจะมาพร้อมกับคุณสมบัติที่มากมาย อาทิเช่น โปรแกรมการถ่ายภาพแบบต่าง ๆ และยังสามารถปรับแต่งเองได้ด้วยมือทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นการโฟกัส การวัดแสง และความเร็วชัตเตอร์ ดังนั้นผู้ใช้ควรมีพื้นความรู้ในการถ่ายภาพดีพอสมควร นอกจากนี้กล้อง D-SLR ยังสามารถมองภาพจากช่องมองภาพผ่านเลนส์ ทำให้มองเห็นภาพที่ใกล้เคียงกับภาพจากเซ็นเซอร์ ซึ่งมีกลไกการทำงานโดยใช้ปริซึม 5 เหลี่ยม และกระจกสะท้อนภาพ เมื่อแสงผ่านเข้าสู่เลนส์จะกระทบกับกระจกสะท้อนภาพไปยังปริซึมและออกไปยังช่องมองภาพ เมื่อกดชัตเตอร์ถ่ายภาพกระจกสะท้อนภาพจะกระดกขึ้นทำแสงตกกระทบสู่ตัวเซ็นเซอร์รับภาพ

กระบวนการถ่ายภาพด้วยระบบดิจิทัล

กระบวนการถ่ายภาพด้วยระบบดิจิทัล เริ่มต้นด้วยการเปิดสวิทช์เพื่อให้กล้องทำงาน แล้วส่องกล้องเล็งไปยังวัตถุที่ต้องการถ่ายภาพ เมื่อแสงจากแหล่งกำเนิดแสง เช่น แสงอาทิตย์ แสงไฟที่ติดตั้งไว้เพื่อการถ่ายภาพส่องไปยังวัตถุ วัตถุจะสะท้อนแสงผ่านเข้ามาทางเลนส์ของกล้อง ซึ่งประกอบด้วยชิ้นเลนส์หลายชิ้นรวมกันเป็นชุด แสงที่ผ่านเลนส์จะตกกระทบลงบนเซ็นเซอร์รับภาพแล้วถูกแปลงเป็นข้อมูลดิจิทัล (สัญญาณดิจิทัล) ข้อมูลเหล่านี้จะถูกส่งไปประมวลผลร่วมกับข้อมูลการกำหนดค่าต่าง ๆ ภายในกล้อง เช่น การกำหนดขนาดของภาพ การกำหนดค่าความไวแสง แล้วส่งไปจัดเก็บไว้เป็นไฟล์ในสื่อบันทึกข้อมูลซึ่งส่วนใหญ่เป็นการ์ดหน่วยความจำ จากนั้นก็นำมาแสดงภาพที่จอ LCD ของกล้องและสามารถนำออกมาแสดงภาพที่คอมพิวเตอร์หรือโทรทัศน์ และนำไปพิมพ์หรืออัดขยายภาพได้

    ไฟล์ภาพที่ได้จากกล้องดิจิทัลที่พบมากที่สุดในปัจจุบันคือไฟล์รูปแบบ Jpeg ซึ่งเป็นไฟล์ที่ถูกบีบอัดแล้ว ทำให้สามารถถ่ายภาพได้เป็นจำนวนมากไม่เปลืองเนื้อที่ในการเก็บข้อมูลลงการ์ดหน่วยความจำ ซึ่งการบีบอัดนี้ทำได้หลายระดับตั้งแต่บีบอัดให้เล็กลงไม่กี่เท่าจนถึงเล็กลงเป็นสิบหรือร้อยเท่า แล้วแต่ว่าจะยอมให้ข้อมูลของภาพนั้นมีคุณภาพลดลงหรือมีความผิดเพี้ยนไปจากต้นฉบับมากน้อยแค่ไหน ยิ่งบีบอัดมากก็ยิ่งเพี้ยนมาก ถ้าบีบอัดน้อยก็จะเพี้ยนเล็กน้อยจนแทบมองไม่เห็นความแตกต่างเมื่อมองดูด้วยตาเปล่า การบีบอัดข้อมูลด้วยวิธีนี้จะลดข้อมูลของภาพแต่ละภาพลงไม่เท่ากันขึ้นอยู่กับว่าสีของจุดต่าง ๆ ในภาพนั้นมีลักษณะอย่างไร ซ้ำกันหรือใกล้เคียงกันมากน้อยแค่ไหนถ้าซ้ำกันหรือใกล้เคียงกันก็บีบอัดได้มาก ดังนั้นจะสังเกตเห็นได้ว่าการถ่ายภาพด้วยกล้องดิจิทัลตัวเดียวกันและถ่ายด้วยความละเอียดเดียวกัน เมื่อถ่ายแต่ละครั้งจนเต็มการ์ดหน่วยความจำ จำนวนภาพที่ได้มักไม่เท่ากัน นอกจากนี้กล้องดิจิทัลส่วนใหญ่ต้องใช้เวลาบ้างในการบีบอัดข้อมูลให้มีขนาดเล็กลง รวมถึงการบันทึกข้อมูลเหล่านั้นลงในการ์ดหน่วยความจำ แล้วจึงนำมาแสดงผลที่จอภาพ LCD ดังนั้นหลังจากกดชัตเตอร์ใหบั้นทึกภาพแลว้ จึงมักต้องรอเวลาสักครู่เพื่อให้กล้องพร้อมที่จะถ่ายภาพต่อไป

เซ็นเซอร์รับภาพในกล้องดิจิทัล

สิ่งหนึ่งของกล้องดิจิทัลที่มีความสำคัญมาก และทำให้กล้องดิจิทัลแตกต่างจากกล้องใช้ฟิล์มอย่างเห็นได้ชัดเจนคือ เซ็นเซอร์รับภาพ (Image Device หรือ Image Sensor) ตัวเซ็นเซอร์นี้จะทำหน้าที่รับภาพหรือแสงแทนฟิล์ม บนพื้นผิวของเซ็นเซอร์ถูกแบ่งออกเป็นส่วนเล็ก ๆ เรียกว่า พิกเซล แต่ละพิกเซลจะบันทึกข้อมูล 1 จุดภาพ เมื่อรวมกันหลาย ๆ จุดอัดกันแน่นจะกลายเป็นภาพที่สามารถมองเห็นได้ว่าเป็นภาพอะไร

ประเภทของเซ็นเซอร์

เซ็นเซอร์รับภาพที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีอยู่ 2 แบบ คือ แบบ CCD (ซีซีดี) และ CMOS (ซีมอส)

เซ็นเซอร์แบบ CCDเซ็นเซอร์รับภาพแบบ CCD ย่อมาจาก Charge Coupled Device โดยปกติ CCD จะรับรู้ได้เพียงว่ามีแสงสว่างมากหรือน้อนเท่านั้นที่มาตกกระทบ ไม่สามารถบอกได้ว่าเป็นสีอะไรดังนั้นเพื่อให้บันทึกภาพเป็นสีได้จึงเคลือบเซ็นเซอร์ด้วยฟิลเตอร์ที่เป็นแม่สีของแสง 3 สี คือ แดง เขียว น้ำเงิน เมื่อ CCD รับแสงมาแล้วจะเปลี่ยนค่าแสงเป็นประจุไฟฟ้าและแปลงเป็นสัญญาณแอนาล็อก ส่งเข้าสู่วงจรเปลี่ยนค่าแอนาล็อกเป็นสัญญาณดิจิทัลอีกที เพื่อนำไปประมวลผลเป็นภาพที่มีสีสันธรรมชาติต่อไป

ขณะนี้หลายบริษัทต่างแข่งขันกันออกเทคโนโลยีของ CCD ที่มีความละเอียดสูงขึ้น มีขนาดใหญ่ขึ้น แต่มีบริษัทหนึ่งที่มีเทคโนโลยีที่แตกต่างออกไปคือ Fuji ที่ใช้เทคโนโลยีที่มีชื่อว่า Super CCD มีการจัดเรียง CCD แบบรวงผึ้งโดยผสมผสานเทคโนโลยีทางด้านฮาร์ดแวร์และซอฟต์แวร์แบบ Interpolate จะทำให้ได้ภาพขนาดใหญ่มากขึ้นกว่าปกติ ซึ่งเกิดจากกระบวนการคำนวณภายในหน่วยประมวลผลของกล้องเพื่อจำลองภาพขึ้นมาใหม่ให้เหมือนกับการถ่ายภาพด้วยกล้องที่มีความละเอียดสูงทั้ง ๆ ที่ใช้ CCD ขนาดเท่าเดิม เช่น CCD ปกติมีความละเอียด 3.2 ล้านพิกเซล ถ้าใช้เทคโนโลยี Super CCD จะสามารถเพิ่มความละเอียดของภาพได้สูงถึง 5 ล้านพิกเซล แต่คุณภาพของภาพที่ได้จะด้อยกว่ากล้องที่ใช้ CCD แบบ 5 ล้านพิกเซลแท้ ๆ เล็กน้อย

รับซื้อกล้องมือสอง

รับซื้อกล้อง Sony รับซื้อกล้องโซนี่
รับซื้อกล้อง olympus รับซื้อกล้องโอลิมปัส
รับซื้อกล้อง Fuji รับซื้อกล้องฟูจิ
รับซื้อกล้อง Nikon รับซื้อกล้องนิคอน
รับซื้อกล้อง Leica รับซื้อกล้องไลก้า
รับซื้อกล้อง Cannon รับซื้อกล้องแคนนอน